ปิดฉากยิ่งใหญ่ เทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 2 คนวงการหนังไทย-เทศ ตอบรับเดินพรมแดงร่วมงานล้นหลาม กรมการท่องเที่ยวเชิดชู 7 บุคคลวงการหนังผู้ส่งเสริมการถ่ายทำในไทย พลอย เฌอมาลย์ – ณเดชน์ คว้ารางวัลป๊อปปูลาร์ คนไทยอยากเห็นโกอินเตอร์ที่สุด 16 ชาติ ลุ้นชิงชัยแข่งขันภาพยนตร์สั้น

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดงานปิดเทศกาลภาพยนตร์ TIFDF 2014 สุดอลังการ คนวงการหนังไทย-เทศตบเท้าร่วมงานคึกคัก ไป่ หลิง หญิง-รฐา พิม-ซอนย่า แอน-มิตรชัย พร้อมคนวงการหนังไทย-เทศ รับ 7 รางวัลเกียรติยศ คนไทยโหวต พลอย เฌอมาลย์ – ณเดชน์ อยากเห็นผลงานโกอินเตอร์มากที่สุด พร้อมประกาศผลการแข่งขันหนังสั้นในประเทศไทย จาก 16 ชาติที่เข้าแข่งขัน

TIFDF (1)กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดงานประกาศรางวัลการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย และพิธีปิดงานเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand International Film Destination Festival 2014 : TIFDF2014) ขึ้น แนวคิดการจัดงาน Thailand – Take Two.. Action! ซึ่งสื่อความหมายถึงการจัดงานครั้งที่ 2 และสื่อถึงการเดินหน้าทำงาน
เชิงรุก โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการให้เทศกาลนี้เป็นช่องทางเผยแพร่ศักยภาพของประเทศไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และความพร้อมด้านการให้บริการถ่ายทำภาพยนตร์ในเมืองไทย ดึงดูดให้กลุ่มคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และผู้สนใจมาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย

การจัดงานเทศกาลฯ ครั้งที่ 2 กรมการท่องเที่ยว ได้รับการตอบรับคำเชิญ จากผู้สร้าง ผู้กำกับ  และนักแสดง อย่างมากมาย ซึ่งล้วนเป็นบุคคลอันมีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์นานาชาติ และสื่อมวลชนระดับอินเตอร์ ตบเท้าเข้าร่วมในงานปิดเทศกาลภาพยนตร์ฯ อวดโฉมบนพรมแดงสุดยิ่งใหญ่อลังการ และเป็นสักขีพยานต่อการก้าวสู่ ‘จุดหมายการถ่ายทำภาพยนตร์ของโลก’ หรือ ‘Thailand: the World Film Destination’ ของประเทศไทย

ค่ำคืนแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย เริ่มต้นขึ้นด้วยการประกาศผลรางวัล Honorable Award For Contribution to Thailand’s International Film Industry ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศที่ทางกรมท่องเที่ยว ได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเมืองไทย ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในปีนี้ ได้แก่

  1. หญิง-รฐา โพธิ์งาม นักแสดงหญิงไทย ที่โด่งดังทั่วโลกจากผลงานเรื่อง Only God Forgives
  2. พิม-ซอนย่า คูลลิ่ง ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร A Stranger in Paradise
  3. แอน-จริยา มิตรชัย นักแสดงหญิง ที่โด่งดังอย่างมากในประเทศอินเดีย จากผลงาน Ishk Actually ภาพยนตร์สัญชาติบอลลีวู้ด
  4. ไป่ หลิง (Bai Ling) นักแสดงหญิงชาวจีน จากภาพยนตร์เรื่อง The Lazarus Papers และภาพยนตร์โทรทัศน์ซีรีส์ Lost ที่ถ่ายทำในเมืองไทย
  5. Daemon Hillin โปรดิวเซอร์ และผู้บริหาร A Stranger in Paradise ที่ถ่ายทำในเมืองไทย
  6. Jiakun Zhans โปรดิวเซอร์ชาวจีน ผู้สร้าง Lost in Thailand ที่ถ่ายทำในเมืองไทย
  7. James  Newport โปรดักชั่นดีไซเนอร์ ผู้กำกับศิลป์ในเรื่อง Bangkok Dangerous และ Ninja 2 ที่ถ่ายทำในเมืองไทย

นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล Thailand People’s Award for International Film เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับนักแสดงไทยที่ได้รับการโหวตสูงสุดจากเว็บไซต์ www.thailandfilmdestination.com ว่าเป็นดารายอดนิยมที่คนไทยอยากเห็นผลงานปรากฏในภาพยนตร์ระดับนานาชาติมากที่สุด โดยผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ได้แก่

  1. พลอย เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ ดารายอดนิยมฝ่ายหญิง
  2. ณเดชน์ คูกิมิยะ ดารายอดนิยมฝ่ายชาย

และปิดท้ายด้วยการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะในการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย ที่มีการแบ่งพื้นที่การแข่งขันทั่วประเทศออกเป็น 8 คลัสเตอร์ (Cluster) ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แก่ THE LANNA INFLUENCE, THE MIGHTY MAEKONG, ISAAN – THE NORTH-EAST, WORLD HERITAGE SITES, THE CHAO PHRAYA BASIN,  BEACHES OF THE EAST, THE ROYAL COAST และ FROM RIVER TO SEA ซึ่งมีผู้ชิงชัย 56 ทีม จาก 16 ชาติ ได้แก่ อเมริกา อังกฤษ อิตาลี สเปน ออสเตรเลีย เซอร์เบีย อินเดีย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

ประเภทมืออาชีพ จัดการแข่งขัน 8 ทีม ซึ่งผู้ชนะได้รับรางวัล Experienced Vision Award for Best Film

คือ Cluster 5 Takashi Hirose and Magnus Thors (Japanese)

ประเภทนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า

จัดการแข่งขัน 48 ทีม ลงใน 8 คลัสเตอร์ คลัสเตอร์ละ 6 ทีม ผู้ชนะรางวัลดีเด่นในแต่ละคลัสเตอร์ มีดังนี้

  1. Award for Outstanding Presentation of Thailand – The Lanna Influence
    ได้แก่ Cluster 1 team 6 DIVERSITY (Philippine)
  2. Award for Outstanding Presentation of Thailand – The Mighty Mekong
    ได้แก่ Cluster 2 team 11 BCN Film Collective (Spain)
  3. Award for Outstanding Presentation of Thailand – ISAAN – The North – East
    ได้แก่ Cluster 3 team 16 Seth Caver Johnson (America)
  4. Award for Outstanding Presentation of Thailand – World Heritage Sites
    ได้แก่ Cluster 4 team 21 FG x Colab (Philippine)
  5. Award for Outstanding Presentation of Thailand – The Chao Phraya Basin
    ได้แก่ Cluster 5 team 30 Chervin Chua Jia Le from Singapore (Singapore)
  6. Award for Outstanding Presentation of Thailand – Beaches of The East
    ได้แก่ Cluster 6 team 35 Unknown Production (Philippine)
  7. Award for Outstanding Presentation of Thailand – The Royal Coast
    ได้แก่ Cluster 7 team 41 Thinkers Art Studio (Malaysia)
  8. Award for Outstanding Presentation of Thailand – From River to Sea
    ได้แก่ Cluster 8 team 44 Charlotte Rabate (America)

ส่วนผู้ชนะรางวัลยอดเยี่ยม ประเภทนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ที่ได้รับรางวัล New Talent Award for Best Film ได้แก่ Cluster 8 team 44 Charlotte Rabate (America)

การจัดเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 2 (Thailand International Film Destination Festival 2014) ผ่านพ้นไปแล้ว ในระหว่างวันที่ 20 – 29 เมษายน 2557 มีกิจกรรมภายในโครงการ 5 กิจกรรม ได้แก่ การแถลงข่าวเปิดเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand International Film Destination Festival 2014: TIFDF 2014) การจัดฉายภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคยถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand on Screen) การแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย (The Amazing Thailand Film Challenge) การอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (“Hot Set” – Thailand’s incredible locations) และ งานประกาศรางวัลการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย และพิธีปิดงานเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (Thailand International Film Destination Festival 2014 : TIFDF 2014) (Awards & Closing Ceremony)

กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเทศกาลฯ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์การจัด ด้วยความร่วมมืออย่างดี  ทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน ดารานักแสดง และบุคลากรในวงการภาพยนตร์ ทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างความประทับใจต่อสายตาชาวโลกขึ้นอีกครั้ง และนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทย ในฐานะที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น ‘จุดหมายการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ’ หรือ ‘Thailand : the World Film Destination’