บทสัมภาษณ์ผู้กำกับ โคเรเอดะ ฮิโรคสึ จาก The Third Murder กับดักฆาตกรรมครั้งที่ 3 เข้าฉาย 7 ธันวาคม

คุยกับผู้กำกับ โคเรเอดะ ฮิโรคาสึ

_DSF4398_recommendๆ__ฌ็•ช1คุณได้แรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ระทึกขวัญแนวขึ้นโรงขึ้นศาล The Third Murder มาจากไหน

เริ่มต้นเลย ผมอยากเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาชีพทนายความอย่างถูกต้อง พอผมได้คุยกับทนายหลายๆ คน รวมถึงผู้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายจาก Like Father, Like Son ทุกคนต่างบอกกับผมว่า “ศาลไม่ใช่สถานที่ตัดสินความจริง” พวกเขาบอกว่าไม่มีใครรู้หรอกว่าความจริงเป็นยังไง ผมคิดว่ามันน่าสนใจมากทีเดียว เลยเกิดความคิดว่า ถ้าอย่างนั้น เรามามาทำหนังดราม่าขึ้นโรงขึ้นศาล ที่ไม่สามารถเปิดเผยความจริงได้ดีกว่า

ตอนเขียนบท คุณไปนั่งฟังการพิจารณาคดีความหลายรอบด้วย

เมื่อก่อน ผมเคยทำหนังที่เล่าเรื่องราวจากมุมมองที่ว่า ตัวละครจะไม่ถูกตัดสิน พูดอีกอย่างก็คือ ผมทำหนังโดยปราศจากมุมมองที่หยั่งรู้ได้รอบด้าน อย่างไรก็ตาม การทำหนังดราม่าระทึกขวัญขึ้นโรงขึ้นศาล มันไม่สามารถใช้มุมมองแบบนั้นได้ ถึงอย่างนั้น ผมก็ไม่อยากให้มันออกมาเป้นอย่างนั้นครับ มันเลยเกิดปมดังกล่าวขึ้นมา

คนดูสัมผัสได้ถึงตึงเครียดที่สมจริงมากตอนเห็นทนาย (มาซาฮารุ ฟูคุยาม่า) ซักไซ้สอบถามฆาตกร (โคจิ ยาคุโช)

ก่อนจะเริ่มถ่ายทำ เราเคยลองซ้อมอ่านบทกับ ฟูคุยาม่า และ ยาคุโช ฉากการสอบสวนในห้องเป็นฉากที่น่าทึ่งมากครับ ตอนแรกจริงๆ ผมไม่อยากให้มีฉากแบบนี้มากเท่าไหร่ เพราะมันจะดูนิ่งเกินไป ในหนังดราม่าแนวครอบครัวเรื่องก่อนๆ ผมเลยพยายามขยับให้ตัวละครไม่อยู่นิ่งๆ ติดที่ ในหนังเรื่องนี้ ฉากในห้องสอบสวนมันมีกระจกกั้น มันเลยทำให้ตัวละครต้องนั่งลงคุยกัน อย่างไรก็ตาม ตอนที่ผมเห็นปฏิกิริยาของพวกเขาทั้งคู่ ผมคิดว่าฉากนี้น่าจะเร้าอารมณ์มากๆ เลยเติมมันเพิ่มเข้าไป หลังจากผมเห็นนักแสดงเข้าฉาก ผมเลยพอจะมองเห็นโครงร่างของหนังทั้งเรื่องได้ครับ

_DSF4956_recommend_tyการกำกับภาพทรงพลังมาก เป็นการนำวิชวลแบบหนังฟิล์มนัวร์มาใช้ในเนื้อหาที่เป็นของตัวเอง

ครั้งนี้ผมตั้งใจทำหนังอาชญากรรมเต็มตัว ผมให้ความสำคัญกับการตัดกันของแสงและเงา มันไม่ใช่การจัดแสงตามธรรมชาติแบบที่ผมเคยใช้มาโดยตลอด ผมได้รับคำแนะนำจากผู้กำกับภาพ คุณมิกิยะ ทากิโมโต้ และเราถ่ายทำด้วยขนาดภาพแบบ CinemaScope ภาพลักษณะนี้ การโคลสอัพ จะมีประโยชน์มากๆ ตัวอย่างเช่น ฉากที่ทนาย 3 คนเดินไปพร้อมๆ กันมันดูเท่มากครับ ผมคิดว่ามันออกมาดีทีเดียว

คุณวางแผนเรื่ององค์ประกอบภาพยังไงบ้าง

ผมมีภาพในหัวเป็นภาพของหนังอาชญากรรมจากอเมริกายุค 1950s ตอนแรกผมบอกให้ ทากิโมโต้ ไปดู Mildred Pierce (ของผู้กำกับ ไมเคิล เคอร์ติซ, 1945) จากนั้นเราก็มาคุยกันถึงหนังที่ใช้ภาพแบบ CinemaScopeแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่าง Seven (ของผู้กำกับ เดวิด ฟินเชอร์, 1995) และหนังหลายๆ เรื่องของผู้กำกับ พอล โทมัส แอนเดอร์สัน รวมถึง High and Low (1963) ของ อากิระ คุโรซาว่า เรานั่งดูว่าจะจับภาพสิ่งต่างๆ แบบ CinemaScopeยังไงโดยไม่ให้บรรยากาศตึงเครียดลดน้อยลง

_DSF6193หนังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การตัดสินผลของคดี นั้นไม่ได้คำนึงถึง ความจริง เลย

ปกติแล้วหนังแต่ละเรื่องจะพาคนดูไปพบกับความจริงในตอนจบ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ เราจะได้เห็นแค่กระบวนการตัดสินของศาล โดยที่ตัวละครไม่ได้พบกับความจริง มันแสดงให้เห็นว่า สังคมของเราให้อภัยระบบที่ไม่สมบูรณ์แบบนี้ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง นอกเสียจากผู้คนจะตัดสินผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับรู้ความจริงเลย

ไม่กี่ปีหลังมานี้ คุณสร้างหนังโดยขุดเอาประสบการณ์ของตัวเองมาใช้ ใน The Third Murder คุณทำอะไรแปลกใหม่บ้างรึเปล่า

ทำครับ ผมอยากทำอะไรที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง เวลาจะบอกเองว่าผมไม่สามารถทำอะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ดังนั้นมันจึงสนุกมากที่ผมยังสามารถทำหนังแบบนี้ ในช่วงเวลาแบบนี้ได้อยู่

1510737735446