สพฐ. ดึง มศว.ลุยพัฒนา ห้องเรียนกลับทางสำเร็จ เน้นเด็กค้นคว้าด้วยตนเองด้วยเนื้อหาดิจิตอล

นางสาวกรกนก เจาะสามะสพฐ. ผนึก มศว. ประสานมิตร พัฒนา “ห้องเรียนกลับทาง” หลังดึงตัวแทนครู อาจารย์กว่า 200 ชีวิต จาก 100 โรงเรียนทั่วประเทศ ร่วมอบรมเพื่อพัฒนาวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับทางสำเร็จ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ รูปแบบ และกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน และผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อได้อย่างง่ายดาย และทำได้จริง ด้าน 4 โรงเรียนในแต่ละภาคคว้ารางวัลชนะเลิศแผนการสอน นำโดย ร.ร.พุทธิโศภน ภาคเหนือ, ร.ร.อนุบาลบุรีรัมย์ ภาคอีกสาน, ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย ภาคกลาง และร.ร.อนุบาลยะลา หวังกระตุ้นให้เด็กไทยรู้จัก และเข้าใจ กระบวนการคิด และวิเคราะห์ ให้เป็นการพัฒนาการรับรู้แบบบูรณาการทั้ง ฟัง คิด พูด อ่าน และเขียน ให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงบทเรียนที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับเยาวชนในต่างประเทศ

ดร.พิเชฎษ์ จับจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (สพฐ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยแนวคิด หลักการ และการดำเนินการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) จึงทำให้เกิดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ จากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กับสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร

จากการจัดโครงการครั้งนี้ จะสามารถเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ รูปแบบ และกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ด้วยวิธีการใหม่ คือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการค้นคว้า ตั้งคำถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง  โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้คอยชี้แนะแนวทางในการค้นคว้า และชวนให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ตาม นอกจากนี้ในโครงการยังเน้นให้ผู้สอนนำเอาเนื้อหาดิจิตอลในรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือกระตุ้นความสนใจ ให้กับผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจถึงรูปแบบห้องเรียนกลับทาง ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ทางด้าน ดร.วีรนันท์ คำนึงวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กล่าวว่า จากการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการรวมกว่า 100 โรงเรียน และมีครูผู้ผ่านการอบรมครบทั้ง 2 ครั้ง คือการอบรมในส่วนกลาง และการอบรมในระดับภูมิภาค กว่า 200 คน นอกจากนี้ทางคณะทำงานยังมีการติดตามประเมินผลโดยการเดินทางไปเยี่ยมชมห้องเรียนของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในทุกภาค เพื่อติดตามชมผลของการนำวิธีการพัฒนาการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่ได้รับการอบรมไปแล้ว มาประยุกต์ใช้จริงในห้องเรียนของแต่ละแห่ง ซึ่งผลการติดตามพบว่านักเรียนให้ความสนใจ และมีความกระตือรือร้น ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากเนื้อหาดิจิตอลต่าง ๆ

นอกจากนี้ผู้เข้าผ่านการอบรมยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาสร้างแผนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งมีช่วงวัย และความสนใจที่แตกต่างกัน โดยนำเนื้อหาดิจิตอลไปเป็นส่วนหนึ่งในการสอนโดยวิธีการถ่ายทอดแบบห้องเรียนกลับทาง ซึ่งในโครงการนี้ ทางสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใด้จัดให้มีการประกวด แผนการสอน จากผลงานของผู้เข้ารับการอบรม โดยแบ่งผลการตัดสินออกเป็น 4 ภูมิภาค ภาคละ 3 รางวัล รวมทั้งสิ้น 12 รางวัล เพื่อเป็นการติดตามผลสัมฤทธิ์จากผู้เข้ารับการอบรม ว่ามีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดขึ้นจริงกับห้องเรียนของตนเองได้อย่างไรบ้าง

โดยมีเกณฑ์การตัดสิน อาทิเช่น การนำเนื้อหาดิจิตอลไปประยุกต์ใช้กับแผนการสอนได้จริง, ผู้เสนอแผนสร้างเนื้อหาดิจิตอลของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเอนิเมชั่น วีดิโอหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง และแผนการสอนนั้นจะต้องทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะที่พึงประสงค์สำหรับศตวรรษที่ 21 และผลจากการอบรมในครั้งนี้จะสามารถสร้างบุคคลากรทางการศึกษา ที่มีวิสัยทัศน์ และมีความกล้าที่จะเริ่มต้นทำในสิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งยังพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของเยาวชนไทยตลอดไป

สำหรับผลการประกวดโครงการฯ ในครั้งนี้ รางวัลชนะเลิศ จะได้รับถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินสด 20,000 บาทได้แก่ ภาคเหนือ ร.ร.พุทธิโศภน นางจันทร์ศรี  เมืองแก้ว, ภาคอีสาน ร.ร.อนุบาลบุรีรัมย์   นางฑิตดุษิตา บัวศรี, ภาคกลาง ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย อาจารย์เมย์ เนาวรัตน์ และภาคใต้ ร.ร.อนุบาล ยะลา นางสาวกรกนก เจะสามะ

นางจันทร์ศรี เมืองแก้ว โรงเรียนพุทธิโศภน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะเลิศการประกวดภาคเหนือ กล่าวว่า “การพัฒนาหลักสูตรห้องเรียนกลับทาง ทำให้เพิ่มความมั่นใจให้เด็กศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง และกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจกระตือรือร้น โดยคุณครูนั้นมีหน้าที่ คือ คอยเอาใจในตัวเด็ก และที่สำคัญเด็กต้องมีความกล้าและเอาใจใส่ในการศึกษามากยิ่งขึ้น” นี่คือข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากจะทำให้การเรียนดีขึ้นได้นั้นสิ่งแรกที่เด็กต้องพัฒนา คือ การใฝ่รู้ใฝ่เรียน ซึ่งจะสามารถทำให้คิดไปได้ไกลและกว้างไกลมากกว่าที่เป็นอยู่

พฤติกรรมการเรียนขึ้นอยู่กับบุคคล บางคนคิดว่าเรียนแค่ในตำราเพียงเท่านั้น แต่กับบุคคลอื่นนั้นอาจหมายถึงไม่เพียงพอเพราะคนเหล่านั้นอาจต้องไปศึกษาต่อถึงโรงเรียนกวดวิชา แต่การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ พวกเขาเกิดการเรียนรู้ที่ดี

“ให้เด็กได้เห็นภาพก่อนและให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้า เรียนกันภายในกลุ่ม เมื่อไม่ได้คำตอบก็ให้ไปค้นคว้ามาเพิ่มและมาแชร์ความรู้กัน ให้เด็กได้สังเกตและมาถามเมื่อสงสัยมาก ๆ เด็กก็จะเกิดความรู้ที่กว้างขึ้นไปอีก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เด็กต้องกล้าที่จะถาม” นางจันทร์ศรี เมืองแก้ว กล่าว

นางฑิตดุษิตา บัวศรี โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ผู้ชนะเลิศการประกวดภาคอีสาน กล่าวว่า “ได้แนวความคิดใหม่ ๆ สำหรับเด็กที่มีความพร้อม และอยากพัฒนาตัวเองด้วยหลายกลุ่ม กลุ่มที่อยากพัฒนาตัวเองก็จะใช้เวลาว่างไปศึกษาเพิ่มเติม ส่วนเด็กที่เขามีความพร้อมคือที่บ้านมีอินเตอร์เน็ต ผู้ปกครองมีเวลา เด็กก็สามารถที่จะเรียนรู้พร้อมกับผู้ปกครองได้” ปัจจุบันต้องยอมรับว่า สิ่งแวดล้อมและความเอาใจใส่ดูแลจากผู้ปกครองนั้น สามารถที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีได้ไม่มากก็น้อย เพียงแต่เราเอาใจใส่เด็กดูแล และดูแลการเรียนการสอนให้ทันโลกแล้วหรือยัง

“อันดับแรกต้องปรับแผนการสอนใหม่หมด เพราะแผนการสอนที่ใช้อยู่เป็นเพียงใบงานและชิ้นงานธรรมดา ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงเด็กนักเรียนได้อย่างเพียงพอเท่าที่ต้องการ”

นายเมย์ เนาวรัตน์ โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะเลิศการประกวดภาคกลาง กล่าวว่า “เด็กมีวิธการเรียนที่หลากหลายมากขึ้น โดยที่ไม่จำกัดสิทธิ์คือเขียนได้ตลอดเวลา อยากอยู่บ้านและเปิดดูสื่อ สามารถดูได้เรียนได้หรือจะลองทดสอบตัวเอง ลองใช้สื่อค้นคว้า โดยไม่ต้องยุ่งกับเกมส์แต่เพียงอย่างเดียว” ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจยอมรับได้ในโลกโลกาภิวัตน์ เช่นนี้คือ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงทำให้การเรียนรู้นั้นสามารถที่จะศึกษาได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็หมายถึงการเข้าถึงเรื่องที่ผิดแปลกไปจากแต่ก่อนได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นการหลีกหนีจากการเข้าถึงสิ่งที่ไม่ควรนั้นคือ การกระตุ้นให้เด็กเดินในทางที่ถูกและดี โดยที่เราเป็นผู้ชี้ทางให้กับเด็ก

“ผมจะใช้การสอนแบบ 5E คือจะมีขั้นนำ โดยให้เด็กได้ดูวีดีโอก่อน ให้ดูแต่ละตอนนิดหน่อย พอถึงช่วงสำคัญก็กดหยุดไว้ โดยใช้คำถามทำนองว่า เด็ก ๆ รู้ไหม ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เด็กจะเริ่มถามกันและเกิดการเรียนรู้ได้ จึงพาเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนทำให้เกิดความน่าสนใจที่อยากจะค้นคว้า”  นายเมย์ เนาวรัตน์ กล่าว

นางสาว กรกนก เจาะสามะ โรงเรียนอนุบาลยะลา ผู้ชนะเลิศการประกวดภาคใต้ กล่าวว่า “เด็กสามารถรู้ได้ว่า ตัวเองชอบอะไร เพราะเขาได้ไปศึกษาเอง เมื่อเป็นแบบนั้นเขาก็สามารถต่อความรู้เข้าไปได้อีก” ข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่ออยากรู้อะไร คนเราก็จะต้องรู้ให้ได้นั้นสามารถสอดคล้องได้กับแนวคิดเช่นนี้ เพราะคนเรานั้นหากเกิดความอยากรู้มักจะทำสิ่งนั้นได้ดีเสมอ แม้ว่าสิ่งนั้นจะยากแค่ไหน แต่เมื่อเกิดความสนใจและเอาใจใส่แล้วละก็ มักได้ทำได้ไม่ยากเสมอ

“เด็กนักเรียนสามารถเพิ่มศักยภาพให้ตนเองได้มากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่งครูอย่างเดียว ครูเป็นตัวเองให้ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องป้อนความรู้ให้อย่างเดียว เพราะเด็กเดียวนี้เขาสามารถที่จะหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอให้คุณครูบอก คือเราเป็นครูไม่ใช่แค่สอนเขาอย่างเดียว แต่สามารถที่เป็นที่ปรึกษาและโต้ตอบความรู้กับเขาได้” นางสาว กรกนก เจาะสามะ กล่าว

สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับโล่ห์เกียรติยศ พร้อมเงินสด 10,000 บาทได้แก่ ภาคเหนือ ร.ร. พุทธิโศภน นางเรืองนภา ภู่รุ่งเรือง, ภาคอีสาน ร.ร. อนุบาลขอนแก่น นางมัณฑนา พิทักษ์, ภาคกลาง ร.ร. บ้านท่ากลอย (ทรัพย์กมลประชาสรรค์) นายธานี  จันทร์นาง และภาคใต้ ร.ร.อนุบาลพัทลุง นางเพลินใจ หอยนกคง และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับโล่ห์เกียรติยด พร้อมเงินสด 5,000 บาท ได้แก่ ภาคเหนือ ร.ร. อนุบาลเชียงของ อ. Pranom Janrawang, ภาคอีสาน ร.ร. อนุบาลลำดวนฯ ครูพงษ์ศรี หวังสม, ภาคกลาง ร.ร. อนุบาลระยอง นายวิศวกร  ชัยเชิดชู และภาคใต้ ร.ร อนุบาลชุมพร คุณวยุภา มากภิรมย์