แถลงการณ์ของนางเฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ เด็ก ๆ ไม่สามารถรับผลกระทบของการปิดโรงเรียนต่อไปได้อีกปี

“ขณะที่เราได้เข้าสู่ปีที่สองของการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทุกฝ่ายต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้โรงเรียนสามารถเปิดได้อย่างต่อเนื่อง หรือจัดให้เป็นสถานที่ที่เปิดได้ในลำดับต้นๆ ในมาตรการ

แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการปิดโรงเรียน และแม้ว่าหลักฐานต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่หลักของการแพร่เชื้อ  แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ยังคงเลือกที่จะปิดโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งบางแห่งได้ปิดมาแล้วเกือบหนึ่งปี

บรรยากาศการเปิดภาคเรียนวันแรกของเด็ก ๆ ที่ไทยราษฎร์คีรี จ. ตาก โรงเรียนไทยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2562 หลังจากที่โรงเรียนต้องปิดในช่วงการระบาดของโควิดระลอกแรก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดสถานศึกษาตามแนวปฏิบัติสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข (กรกฎาคม 2563 UNICEF/เรืองฤทธิ์ คงเมือง)


การปิดโรงเรียนในประเทศต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดสูงสุด โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้ประมาณการณ์ว่า เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง  24 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นปัญหาที่เราพยายามทุ่มเทแก้ไขมาโดยตลอด

ทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณของเด็กกำลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ก็กำลังถดถอย  นอกจากนี้ สุขภาพ พัฒนาการ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ของเด็ก ๆ ก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เด็กกลุ่มเปราะบางที่สุดกำลังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

UNICEF 03เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  คุณครูของศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กข้ามชาติในจังหวัดตากลงพื้นที่ไปสอนเด็ก ๆ ถึงในชุมชน ตั้งแต่โควิด-19 ระบาดจนถึงปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้ข้ามชาติยังคงปิดบริการตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน (กรกฎาคม 2563 UNICEF/เรืองฤทธิ์ คงเมือง)


การไม่ได้กินอาหารที่โรงเรียน ทำให้เด็กจำนวนมากหิวโหยและมีภาวะโภชนาการที่แย่ลง การขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และการไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน ทำให้เด็ก ๆ ต้องสูญเสียสมรรถภาพทางกายและเกิดความเครียด และเมื่อขาดการสนับสนุนต่าง ๆ จากโรงเรียน ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการถูกทำร้าย การถูกบังคับให้แต่งงาน และการถูกใช้แรงงาน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการปิดโรงเรียนจึงควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว

การตัดสินใจเรื่องการเปิดปิดโรงเรียนควรประเมินจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ การปิดโรงเรียนทั่วประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงและระบบสาธารณสุขกำลังแบกรับภาระอย่างหนัก ซึ่งอาจจำเป็นต้องปิดโรงเรียน ก็ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเพื่อให้เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนต่อได้ในห้องเรียน เช่น กลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้าน หรือเด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารที่โรงเรียน หรือเด็กที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน

ในพื้นที่ ๆ มีการล็อคดาวน์ โรงเรียนต้องเป็นสถานที่แรก ๆ ที่เปิดก่อนเมื่อรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมาตรการ นอกจากนี้ ควรจัดชั้นเรียนพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่ไม่สามารถเรียนทางไกล สามารถเรียนตามทันได้ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หากเด็ก ๆ ต้องเผชิญกับการปิดโรงเรียนต่อไปอีก 1 ปี ก็จะส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายรุ่นอายุทีเดียว”

UNICEF 04 เด็กในประเทศเอธิโอเปียกำลังเรียนทางไกลผ่านวิทยุในขณะที่โรงเรียนปิด (พฤษภาคม 2663 – UNICEF/2020/Nahom Tesfaye)

UNICEF_MinzayarOo_Portraits_23เด็กๆ ในรัฐคะฉิ่นของเมียนมาร์กำลังเรียนในที่พักของตนหลังโรงเรียนเลื่อนการเปิดภาคเรียนใหม่ (กรกฎาคม2563 UNICEF/2020Minzaya Oo)

10_Corona_Outbreak_2020เด็ก ๆ ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซียกำลังเรียนจากที่บ้านของตนเองเนื่องจากโรงเรียนปิด (มีนาคม 2563 UNICEF/2020/Arimacs Wilander) 


เกี่ยวกับยูนิเซฟ

ยูนิเซฟทำงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กทั่วโลก ยูนิเซฟทำงานร่วมกับพันธมิตรใน 190 ประเทศและเขตปกครองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อทำให้เกิดการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง โดยมุ่งเข้าถึงเด็กกลุ่มเปราะบางที่สุดและกลุ่มเด็กที่ตกหล่น เพื่อประโยชน์แก่เด็กทุกคนในทุกพื้นที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยูนิเซฟ ได้ที่ www.unicef.or.th และสามารถติดตามได้ทาง ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก